- DATA พาเพลิน
DATA พาเพลิน : Breaking Post!
อัพเดตเมื่อ: 11 เม.ย. 2020

การระบาดของไวรัส Covid-19 กำลังเกิดเอฟเฟค
หลายๆธุรกิจเริ่มประสบปัญหา โดยเฉพาะสายการบิน
สายการบิน ต่างหนีตาย โดยการทำโปรโมชั่น ลดแหลก
ผมเข้าใจโลกธุรกิจนะครับว่า ...Cost มันงอกอยู่ทุกวัน
แต่ในช่วงนี้ สายการบิน อาจทำงานเพิ่มขึ้นกว่าเดิมนิดนึง
...ขนคนไป และเอาเชื้อโรคกลับมา

(0) ตอนนี้เรียกได้ว่า การระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลกเรียบร้อยแล้ว
เกิดผู้ติดเชื้อในทุกทวีป(ที่มีคนอยู่นะครับ)
โลกต้องเขียนประวัติให้ตัวเองใหม่
โดยเพิ่ม โควิด-19 ในข้อมูลด้านสุขภาพ
.....................
ผมเข้าไปถาม"กู๋"หน่อยว่า ช่วงนี้มีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง ผมใช้คีย์เวิร์ด 3 คำ ค้นหา 7 วันที่ผ่านมา เฉพาะประเทศไทย
1.ตั๋วถูก 2.โปรไฟไหม้ 3.เที่ยวญี่ปุ่น และนี่คือผลลัพธ์...

(1) เที่ยวญี่ปุ่นแตะจุดพีคเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา
เป็นวันที่มีข่าวเรื่อง"ปู่ย่ามหาภัย ไทยแลนด์"
คราวนี้เรามาดูการเชื่อมโยงของคีย์เวิร์ดทั้ง 3 คำกัน
คำแรก"ตั๋วถูก"

(2) "ตั๋วถูก" ถูกเชื่อมโยงกับ"อย่าเห็นแก่ตั๋วถูก"
ใน 2-3 วันที่ผ่านมา มีการพูดในวงกว้างในลักษณะเชิงตำหนิ
สำหรับใครที่ไปท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มเสี่ยงต่อการระบาด
และให้ข้อคิดเชิงตรรกะ"ได้ไม่คุ้มเสีย"
และการวางแผนท่องเที่ยวโดยการซื้อ"ตั๋วถูก"ล่วงหน้า อาจจะไม่เวิร์คอีกต่อไป
ต่อไปเรามาดูคีย์เวิร์ดอันที่สอง"โปรไฟไหม้"

(3) "โปรไฟไหม้" มีสายการบินที่ถูกเชื่อมโยงกับคีย์เวิร์ดนี้
และเมื่อผมเข้าไปในเว็บของสายการบินนี้
...มันถูกจริงๆครับ เรียกได้ว่าเป็น"โปรไฟไหม้"
เป็นการไหม้ที่มีอำนาจทำลายล้างสูง
สามารถให้ผู้คนตัดสินใจซื้อตั๋วราคาถูก
แล้วบินไปเสี่ยงกับเชื้อโรค
เพื่อกลับมาจ่ายค่ารักษาในราคาแพง
ตรงนี้"สติ" เท่านั้นที่จะช่วยท่านได้
ต่อไปเรามาดูคีย์เวิร์ดอันที่สาม"เที่ยวญี่ปุ่น"

(4) "เที่ยวญี่ปุ่น"ถูกเชื่อมโยงกับ"ปู่ย่ามหาภัย ไทยแลนด์"
และ ดาราที่ไปท่องเที่ยวหรือทำงานในประเทศที่เสี่ยงต่อการระบาดโรค
เป็นมาตราการเฝ้าระวังจากบรรดาผู้ติดตามดาราทั้งหลาย
ใครกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
แล้วไม่กักตัวอยู่บ้าน ยังออกมารับงาน หรือออกนอกบ้าน
ดาราคนนั้นจะ"เละๆ"หน่อยครับ
และในคียด์เวิร์ดนี้มีบางอย่างน่าสนใจอยู่...

(5) ผมเก็บข้อมูลเรื่อยมาตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ การเชื่อมโยง - เที่ยวญี่ปุ่นเดือนพฤษภาคม - เที่ยวญี่ปุ่นเดือนมิถุนายน ทั้งสองคำนี้ มีจำนวนมาก และมีคำซ้ำๆ อยู่เยอะ จากทั้งหมด 25 คำ
นั่นหมายความว่า ผู้คนต้องการไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงสองเดือนนี้
หรืออาจหมายความว่า ผู้คน(ที่ซื้อตั๋วไว้แล้ว)ต้องการเลื่อนการท่องเที่ยวออกไปยังช่วงสองเดือนนี้
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ การเชื่อมโยง - เที่ยวญี่ปุ่นเดือนพฤษภาคม - เที่ยวญี่ปุ่นเดือนมิถุนายน - เที่ยวญี่ปุ่นเดือนกรกฏาคม
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ การเชื่อมโยง - เที่ยวญี่ปุ่นเดือนมิถุนายน - เที่ยวญี่ปุ่นเดือนกรกฏาคม - เที่ยวญี่ปุ่นเดือนกันยายน
มาถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่ผมเก็บข้อมูล - เที่ยวญี่ปุ่นเดือนพฤษภาคม ได้หายไปแล้ว และไม่ถูกเชื่อมโยงกับคีย์เวิร์ด
สิ่งเหล่านี้อาจจะพอบอกเราได้มั้ยว่า...
ผู้คนส่วนใหญ่ได้เลื่อนกำหนดการท่องเที่ยวออกไป -ใกล้ที่สุดคือเดือนมิถุนายน - และไกลที่สุด(ตอนนี้)คือเดือนกันยายน
และผมว่า ยังจะมีการเขยิบเดือนออกไปอีก ตามสถานการณ์ของการระบาด (หากเก็บข้อมูลเพิ่มเติม)
.....................
ต้องยอมรับว่า สถานการณ์ปัจจุบัน
เราทุกคน เจ็บตัวกันถ้วนหน้า
ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค
ทุก"ผู้"ในสังคม
เรียกได้ "โควิด...ขวิดทุกคน"
.....................
ในช่วงนี้ ผมได้เห็นคนรู้จักอยู่ 2 คน ทั้งสองคนไปเที่ยวในประเทศที่เสี่ยงต่อการระบาดโรค
เมื่อกลับมา
คนแรก หยุดงาน กักตัวอยู่บ้าน ตามขั้นตอน
คนที่สอง กลับมา แล้วไปทำงานเลย แต่สุดท้ายโดนที่ทำงานกดดันอย่างหนัก จึงหยุดไป
.....................
มาถึงตรงนี้ ผมคิดว่ายังมีสิ่งดีๆในเหตุการณ์นี้
โควิด-19 ได้สร้าง ตรรกะ ให้เรา
ตรรกะแห่งการ "ควร" หรือ"ไม่ควร' ให้เกิดขึ้น ในสังคมที่เราเชื่อมโยงกัน
และเห็นข้อมูลซึ่งกันและกัน(ผ่านโซเซียล)
เกิดเป็น"จิตสำนึกใหม่"ในสังคม
ไม่เที่ยว ช่วงโรคระบาด (เลื่อนได้ก็เลื่อน)
ซื้อตั๋วถูก จ่ายค่ารักษาแพง (คุ้มหรอ?)
ใส่แมส เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น... ก็เพื่อใช้เป็น"บรรทัดฐานใหม่" และ"จิตสำนึกใหม่"...ร่วมกัน
หากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีกในอนาคต!
.....................
ให้กำลังใจ กด ❤️ได้นะครับ
รับประกันจะสรรหาเรื่องราวข้อมูลใหม่ๆ
มาให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้ต่อยอดทางความคิดกันตลอดครับ
ขอบพระคุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน
ขอบพระคุณทุกการติดตาม
DATA พาเพลิน
DATA-PAPLEARN
***หมายเหตุ DATA ข้อมูลที่เกิดขึ้นในโพสต์นี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลคำค้นหาบนแพลตฟอร์มของกูเกิ้ลอย่างเดียวเท่านั้น ข้อมูลและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากการรวบรวมและบันทึก ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้เขียนและทีมงาน DATA พาเพลิน มีเจตนารมณ์เพื่อให้ชุดข้อมูลดังกล่าว เกิดการต่อยอดทางความคิดแก่ผู้อ่าน ไม่ได้มีความประสงค์จะชี้นำในเรื่องใดๆแต่อย่างใด